วันอังคารที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

โครงงานหุ่นละคร

โครงการหุ่นละคร
เรื่อง หุ่นละครโรงเล็ก



นางสาวศิรัญญา เสาสิริ     54191860310
นางสาวศุภกานต์  เจริญยิ่ง   54191860315
นางสาวอรวรรณ  แรงจบ     54191860339
                              นางสาวยุพิน   ไชยยะ54191860354


โครงงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมสำหรับเด็กปฐมวัย
สาขาการศึกษาปฐมวัย ระดับ ค.บ. 5/4
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557
วิชา การศึกษาสื่อทางไกล รหัสวิชา
                                                  คณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์


โครงการหุ่นละคร
เรื่อง หุ่นละครโรงเล็ก


นางสาวศิรัญญา เสาสิริ 54191860310
นางสาวศุภกานต์  เจริญยิ่ง 54191860315
นางสาวอรวรรณ  แรงจบ     54191860339
นางสาวยุพิน   ไชยยะ 54191860354




โครงงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมสำหรับเด็กปฐมวัย
สาขาการศึกษาปฐมวัย ระดับ ค.บ. 5/4
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557
วิชา การศึกษาสื่อทางไกล รหัสวิชา
คณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
                                                                                                                                                                                                                  ก
ชื่อ                  :นางสาวศิรัญญาและคณะ
ชื่อเรื่อง           :  หุ่นละครโรงเล็ก
รายวิชา           :  สาขาการศึกษาปฐมวัย
ครูที่ปรึกษา    :  อาจารย์บุญโต   นาดี
ปีการศึกษา     :  1/2557
บทคัดย่อ
               นักศึกษา สาขาการศึกษาปฐมวัยได้เล็งเห็นความสำคัญดังกล่าว จึงได้จัดตั้งโครงการหุ่นละคร ซึ่งในโครงการนี้จะประกอบไปด้วย หุ่นละครประเภทต่างๆ และโรงหุ่นละครที่สามารถนำไปใช้ร่วมกันได้ ถือได้ว่าเป็นอีกกิจกรรมที่เด็กชื่นชอบและให้ความสนใจ เด็กได้เล่นเชิดหุ่นละครตามจินตนาการ มีความกล้าแสดงออกมากขึ้น และได้ถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกผ่านการเล่นเชิดหุ่นละคร ร่วมถึงการได้ทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อน ได้ฝึกทักษะทางด้าน การฟัง การพูด และการอ่านสีหน้า ท่าทางของหุ่นละคร อีกด้วย
วัตถุประสงค์
          1. เพื่อให้เด็กได้เกิดการเรียนรู้ และประสบการณ์ที่หลากหลายจากการเล่นเชิดหุ่นละคร
          2. เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีความกล้าแสดงออกและเชื่อมั่นในตนเอง
          3. เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และสุนทรียภาพแก่เด็กปฐมวัยจากการเล่นเชิดหุ่นละคร
          4. เพื่อส่งเสริมให้เด็กได้ทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น
          5. เพื่อให้เด็กได้แสดงออกทางความคิด และถ่ายทอดความรู้สึกของตนผ่านหุ่นละคร
          6. เพื่อส่งเสริมทักษะทางด้านการฟัง การพูด และการอ่านของเด็ก จากการเล่นเชิดหุ่นละคร
วิธีการดำเนินงาน
1. วางแผนและกำหนดหัวข้อการจัดทำโครงการ
2. นำเสนอโครงการต่อผู้บริหารของโรงเรียน
3. ประชุมร่วมกับครูประจำชั้นและผู้บริหารในการดำเนินโครงการ
4. ดำเนินการสร้างโรงหุ่นและผลิตหุ่นประเภทต่างๆ ตามขั้นตอนดังนี้
            4.1 ขั้นตอนการจัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์
             4.2 ขั้นการดำเนินการสร้างโรงหุ่นและหุ่นประเภทต่างๆ
             4.3 เก็บภาพถ่าย ขณะดำเนินงาน
5. สรุปและประเมินผลโครงการ
สรุปผลการดำเนินงาน
              ในการจัดทำโครงการนี้จะช่วยเสริมสร้างความกล้าแสดงออก ความมั่นใจในตัวเอง ตลอดจนจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยได้เป็นอย่างดี ในการทำหุ่นละครต่างๆ จะต้องใช้เวลาในการทำ เนื่องจากเป็นงานที่ประณีต และโรงหุ่นที่ใช้ไม่จำเป็นต้องสร้างขึ้นใหม่ สามารถประยุกต์จากสิ่งต่างๆ ที่มีอยู่ได้ เช่น โต๊ะ ช่องประตู เป็นต้น ซึ่งหาง่าย ไม่สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย และประหยัดเวลาในการจัดทำ



                                                                                                                                                                                                                   ข
กิตติกรรมประกาศ
             กิตติกรรมประกาศ ผู้จัดทาโครงงานหุ่นละครโรงเล็ก จะเกิดขึ้นไม่ได้ถ้าหากขาดการสนับสนุนจาก บุคคลหลายท่านด้วยกันจึงใคร่ขอขอบคุณท่านต่างๆ ดังนี้ ขอขอบพระคุณอาจารย์ทุกท่านที่มีส่วนให้โครงงานนี้ผ่านมาถึงวันนี้รวมถึงความรู้ในทางวิชาการและประสบการณ์ชีวิตในด้านต่างๆ ขอขอบพระคุณอาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานอาจารย์บุญโต   นาดีที่กรุณาให้คำแนะนาและให้คำปรึกษาเป็นอย่างดี ตลอดจนแนวทางแก้ไขปัญหาโครงงาน ซึ่งเป็นประโยชน์มากในการทำโครงงานนี้ ทำให้ผู้จัดทาสามารถพัฒนาโครงงานจนสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดีขอขอบคุณผู้จัดทำผู้จัดทำโครงงานที่ให้คำแนะนารวมถึงกำลังใจ และการสนับสนุนการศึกษาและให้ความช่วยเหลือเกี่ยวกับการจัดทำโครงงานสุดท้ายนี้ ตลอดจนอาจารย์ทุกท่านที่มีส่วนเกี่ยวข้องไว้ ณ ที่นี้ด้วย คุณค่าและประโยชน์อันพึงมี จากการจัดทาโครงงานนี้ ผู้จัดทาของมอบให้แด่ผู้มีพระคุณทุกท่าน


              นางสาวศิรัญญา  เสาศิริและคณะ









สารบัญ

เรื่อง                                                                                                                                    หน้า
บทคัดย่อ                                                                                                                                                                             
กิตติกรรมประกาศ                                                                                                                                                            
บทที่ บทนำ                                                                                                                                                                    1
1.1 แนวคิดที่มาของโครงงาน                                                                                                                                         1
1.2 วัตถุประสงค์ของโครงงาน                                                                                                                                       2
1.3 ขอบเขตของโครงงาน                                                                                                                                                2
1.4 วิธีการดำเนินการ                                                                                                                                                        2
1.5 ประโยชน์ที่ได้รับ                                                                                                                                                       3
1.6 นิยามศัพท์                                                                                                                                                                    3
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง                                                                                                                                               4
2.1ความหมายและความสำคัญของหุ่นละคร                                                                                                              4
2.2ละครหุ่น                                                                                                                                                                       5
บทที่ 3 วิธีการดำเนินงานโครงการ                                                                                                                               7
3.1วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ หรือโปรแกรมที่ใช้ในการพัฒนา                                                                                  7
3.1ขั้นตอนการดำเนินโครงการ                                                                                                                                     7
บทที่ 4 ผลการดำเนินงาน                                                                                                                                                8
4.2 การนำไปใช้                                                                                                                                                                8
บทที่ 5 สรุป อภิปรายและข้อเสนอแนะ                                                                                                                       9
         5.1 สรุปผลการดำเนินงานโครงงาน                                                                                                                    9
         5.2 ปัญหาและอุปสรรค                                                                                                                                          9
         5.3 ข้อเสนอแนะและแนวทางในการพัฒนา                                                                                                     9
บรรณานุกรม                                                                                                                                                                     10
ภาคผนวก                                                                                                                                                                           11
ประวัติผู้จัดทำ                                                                                                                                                                     13













                                                                                                                                                                                                            1
บทที่

1.1 แนวคิดที่มาของโครงงาน
              เด็กปฐมวัยมีธรรมชาติและลักษณะเฉพาะที่แตกต่างไปจากบุคคลวัยอื่นๆ และเป็นวัยแห่งการเรียนรู้สิ่งต่างๆ รอบตัว ชอบสำรวจสิ่งที่แปลกใหม่ ชอบเลียนแบบผู้อื่นหรือตัวละครในนิทานที่ตนชื่นชอบ และชอบเล่นของเล่น การลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเอง และกระบวนการเรียนรู้ที่เปี่ยมไปด้วยจินตนาการ ความสุข สนุกสนาน ตื่นเต้น ประทับใจ การเล่นที่แฝงความคิดสร้างสรรค์อีกกิจกรรมที่น่าสนใจก็คือ การเล่นเชิดหุ่นละคร ซึ่งหุ่นเป็นมรดกทางศิลปะเก่าแก่ที่สืบทอดมาในลักษณะต่างๆ ตั้งแต่ครั้งโบราณกาล ลักษณะของการใช้หุ่น อาจเป็นรูปแบบของละคร นิทาน นิยาย โดยมนุษย์เป็นผู้ควบคุมให้เคลื่อนไหว หุ่นยังสามารถจำลอง หรือเลียนแบบคล้ายของจริง ถึงจะไม่มีชีวิตแต่สามารถสื่อให้ผู้ดูเข้าถึงอารมณ์ โดยลีลาท่าทางของหุ่นที่แสดงออก (พวงเพชร มงคลเวทย์. 2536 : 10) จึงถือได้ว่า หุ่นเป็นเสมือนตัวแทนของมนุษย์ในการแสดงออกทางการเคลื่อนไหว ลีลา อารมณ์ และสื่อสารความคิดให้บุคคลอื่นรับรู้ ก่อให้เกิดทั้งความสุข สนุกสนาน เกิดความรู้สึกนึกคิดต่างๆ หุ่นจะทำให้เด็กกล้าแสดงออกและรู้จักการทำงานร่วมกันเป็นอย่างดี (มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. 2546 : 189 - 190) ดังนั้น หุ่นจึงนับว่าเป็นสื่อการเรียนการสอนที่มีอิทธิพลต่อความรู้สึกของเด็ก ช่วยส่งเสริมให้เด็กเกิดความคิดสร้างสรรค์ จินตนาการและกล้าแสดงออก (ศิริกาญจน์โกสุมภ์. 2522 : 10 ) การแบ่งประเภทของหุ่นละคร สามารถแบ่งได้หลายรูปแบบโดยอาศัยเกณฑ์ต่างๆ ในที่นี้จะกล่าวถึงประเภทของหุ่นละครโดยแบ่งตามวัตถุประสงค์ทางการศึกษาซึ่ง จิตราภรณ์ เตมียกุล ( 2531 : 34 ) ได้แบ่งประเภทของหุ่นเพื่อการศึกษาและพัฒนาเด็กออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้
              1. หุ่นเงา หรือหุ่นหนังตะลุง ( Shadow Puppet) เป็นหุ่นที่ทำมาจากแผ่นหนังหรือกระดาษแข็ง มีไม้เสียบหรือสายใยต่อเข้าส่วนต่างๆ ของร่างกาย ใช้เคลื่อนไหวประกอบเรื่อง และใช้แสงไฟเพื่อให้เกิดเงา
             2. หุ่นมือ (Hand Puppet) เป็นหุ่นเชิดโดยใช้นิ้วมือเพื่อขยับมือ หัว และปากของหุ่นให้เคลื่อนไหวได้ตามต้องการ ซึ่งมีหลายแบบ เช่น หุ่นมือถุงกระดาษ หุ่นมือถุงมือ หุ่นมือถุงเท้า และหุ่นนิ้วมือ
            3. หุ่นเชิด (Rod Puppet) เป็นหุ่นเชิดด้วยไม้หรือสายเชือกจากข้างล่างของตัวหุ่นให้เคลื่อนไหวตามต้องการ สามารถทำได้หลายวิธี และประดิษฐ์ตัวหุ่นขนาดต่างๆ ได้
            4. หุ่นชัก ( Marionette) เป็นหุ่นที่ใช้สายโยงเป็นเส้นด้ายหรือลวดติดกับตัวหุ่น เวลาชักโยกไม้ข้างบนพร้อมกับเชือกตามต้องการ จะทำให้อวัยวะส่วนใดเคลื่อนไหวก็ได้
             นักศึกษา สาขาการศึกษาปฐมวัยได้เล็งเห็นความสำคัญดังกล่าว จึงได้จัดตั้งโครงการหุ่นละคร ซึ่งในโครงการนี้จะประกอบไปด้วย หุ่นละครประเภทต่างๆ และโรงหุ่นละครที่สามารถนำไปใช้ร่วมกันได้ ถือได้ว่าเป็นอีกกิจกรรมที่เด็กชื่นชอบและให้ความสนใจ เด็กได้เล่นเชิดหุ่นละครตามจินตนาการ มีความกล้าแสดงออกมากขึ้น และได้ถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกผ่านการเล่นเชิดหุ่นละคร ร่วมถึงการได้ทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อน ได้ฝึกทักษะทางด้าน การฟัง การพูด และการอ่านสีหน้า ท่าทางของหุ่นละคร อีกด้วย
                                                                                                                                                                                                                  2
1.2 วัตถุประสงค์ของโครงงาน
           1. เพื่อให้เด็กได้เกิดการเรียนรู้ และประสบการณ์ที่หลากหลายจากการเล่นเชิดหุ่นละคร
          2. เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีความกล้าแสดงออกและเชื่อมั่นในตนเอง
          3. เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และสุนทรียภาพแก่เด็กปฐมวัยจากการเล่นเชิดหุ่นละคร
          4. เพื่อส่งเสริมให้เด็กได้ทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น
          5. เพื่อให้เด็กได้แสดงออกทางความคิด และถ่ายทอดความรู้สึกของตนผ่านหุ่นละคร
          6. เพื่อส่งเสริมทักษะทางด้านการฟัง การพูด และการอ่านของเด็ก จากการเล่นเชิดหุ่นละคร
1.3 ขอบเขตของโครงงาน
           การจัดทำโครงงานหุ่นละครโรงเล็กเพื่อให้เด็กได้เกิดการเรียนรู้ และประสบการณ์ที่หลากหลายจากการเล่นเชิดหุ่นละครเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และสุนทรียภาพแก่เด็กปฐมวัยจากการเล่นเชิดหุ่นละคร
1.4 วิธีการดำเนินการ
1. วางแผนและกำหนดหัวข้อการจัดทำโครงการ
2. นำเสนอโครงการต่อผู้บริหารของโรงเรียน
3. ประชุมร่วมกับครูประจำชั้นและผู้บริหารในการดำเนินโครงการ
4. ดำเนินการสร้างโรงหุ่นและผลิตหุ่นประเภทต่างๆ ตามขั้นตอนดังนี้
        4.1 ขั้นตอนการจัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์
       4.2 ขั้นการดำเนินการสร้างโรงหุ่นและหุ่นประเภทต่างๆ
       4.3 เก็บภาพถ่าย ขณะดำเนินงาน

                                                                                                                                                                                                                 3
1.5 ประโยชน์ที่ได้รับ
          1. เด็กเกิดการเรียนรู้ และได้รับประสบการณ์ที่หลากหลายจากการเล่นเชิดหุ่นละคร
          2. เด็กมีความกล้าแสดงออกและเชื่อมั่นในตนเอง
          3. ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และสุนทรียภาพแก่เด็กปฐมวัยจากการเล่นเชิดหุ่นละคร
          4. ส่งเสริมให้เด็กได้ทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น
         5. เด็กได้แสดงออกทางความคิด และถ่ายทอดความรู้สึกของตนผ่านหุ่นละคร
         6. ส่งเสริมทักษะทางด้านการฟัง การพูด และการอ่านของเด็ก จากการเล่นเชิดหุ่นละคร
1.6 นิยามศัพท์
              1. หุ่นเงา หรือหุ่นหนังตะลุง ( Shadow Puppet)
             2. หุ่นมือ (Hand Puppet)
             3. หุ่นเชิด (Rod Puppet)
             4. หุ่นชัก ( Marionette)









                                                                                                                                                                                                               4
บทที่ 2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
              ในการศึกษาโครงงานเรื่องหุ่นละครโรงเล็กผู้จัดทำได้รวบรวมแนวคิดต่างๆจากเอกสารที่เกี่ยวข้องดังต่อไปนี้
2.1 ความหมายและความสำคัญของหุ่นละคร
              หุ่น เป็นสิ่งที่นำมาใช้ในการแสดง  ที่คนสร้างขึ้นมาเพื่อใช้เลียนแบบการเคลื่อนไหวและอากัปกิริยาของสิ่งที่หุ่นนั้นเป็นตัวแทนโดยอาศัยกล ไกที่ประดิษฐ์ขึ้น และคนเป็นผู้เชิด หุ่นจึงมีลักษณะแตกต่างไปจากตุ๊กตา หุ่นยนต์หรือของเล่นที่สามารถเคลื่อนไหวด้วยตัวของมันเองการแสดงละคนหุ่นเป็นการแสดงที่ไม่ได้ใช้คนเล่น  แต่คนจะเป็นผู้เชิดชูเพื่อเลียนแบบบุคลิกลักษณะของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง  ทั้งคน  สัตว์  สิ่งของ  สามารถนำมาดัดแปลงเป็นต้น  สร้างให้เหมือนกับชีวิตจิตใจขึ้นมาได้  ตั้งแต่ก้อนหินไปจนถึงดวงดาวบนท้องฟ้าและหุ่นอาจสร้างขึ้นมาเพื่อแทนนามธรรมบางอย่างได้  เช่น ใช้หุ่นเปลวเพลิงแทนความชั่ว  หรือความดุร้าย  ร้อนแรง  ใช้หุ่นรูปหัวใจแทนความรัก  ความจริงใจ   เป็นต้น  หุ่นจึงเป็นที่สนใจของเด็ก  เพราะส่งเสริมให้เด็กเกิดจินตนาการและได้รับความสนุกสนาน โดยเฉพาะถ้าผู้เชิดชูได้ใช้ความรู้ทางศิลปะ ธรรมชาติวิทยา  สรีรวิทยาและเทคนิคการแสดงเข้ามาประกอบด้วย  ก็จะทำให้หุ่นนั้นดูเป็นจริงเป็นจังขึ้นมา  หุ่นเองยังช่วยให้เชิดเป็นคนกล้าแสดงออกด้วยเหตุนี้ เพราะตัวผู้เชิดหรือผู้แสดงจะซ่อนตัวอยู่หลังม่าน  ด้วยเหตุนี้หุ่นจึงมีประโยชน์ต่องานด้านการศึกษาในการนำมาพัฒนาตัวเด็กให้กล้าแสดงสนใจบทเรียน  และเรียนรู้จากการแสดงหุ่น  ด้วยความสนุกสนาน
               ละครหุ่น คือ การแสดงที่ใช้หุ่นเป็นตัวละคร โดยมีคนเป็นผู้เชิดตามบทบาท ลักษณะนิสัยของตัวละคร และตามชนิดของหุ่นนั้น ๆ

              การแสดงละครหุ่น เป็นการถ่ายทอดเรื่องราวและแนวคิดด้วยวิธีง่ายที่สุด และได้ผลดีที่สุดแบบหนึ่ง ไม่จำเป็นต้องใช้ฉากเวทีและเครื่องแต่งตัว ความสำคัญอยู่ที่การแสดงมากกว่าฉากเวที การแสดงด้วยหุ่น ไม่ควรมีรายละเอียดมากเพราะจะทำให้ขาดความสนใจจากเรื่องที่แสดง
                                                                                                                                                                                                                 5
2.1 ละครหุ่น
             ละครหุ่นเป็นการแสดงที่อาศัยความสามารถของคนเชิดหุ่นให้มีลีลาท่าทางต่าง ๆ ตามบทบาทของละครหุ่นตัวนั้น เพื่อสื่อให้ผู้ชมได้รับรู้และเข้าใจความหมาย ตลอดจนเนื้อเรื่องที่ต้องการจะสื่อ การแสดงละครหุ่นที่ดีนั้น สามารถใช้หลักการต่อไปนี้
          1.  การเลือกเรื่องแสดง นักเรียนควรเลือกเรื่องที่มีประโยชน์ให้ข้อคิดต่าง ๆ และใช้เวลาในการแสดงไม่มากนัก ไม่ซับซ้อนและไม่ใช้ตัวละครมากเกินไป ควรเป็นเรื่องที่มีการดำเนินเรืองอย่างง่าย ๆ
          2.  การเลือกตัวหุ่น ควรเลือกตัวหุ่นให้เหมาะสมกับเนื้อเรื่อง บทบาทของตัวละคร นักเรียนอาจจะประดิษฐ์หุ่นเองได้ โดยใช้วัสดุเหลือใช้ ซึ่งจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย และฝึกการใช้ความคิดสร้างสรรค์ได้ดี
          3.  การจัดเวที เนื่องจากการแสดงละครหุ่นมีเนื้อเรื่องไม่ซับซ้อน ตัวละครไม่มาก นักเรียนอาจใช้โต๊ะเรียน 1-2 ตัววางติดกัน และใช้ผ้าคลุมทำเป็นเวทีแล้วจึงเชิดหุ่นอยู่ด้านหลังโต๊ะ
          4.  การประเมินผลการแสดง หลังจากการแสดงจบแล้ว ผู้แสดงและผู้ชมควรมีส่วนร่วมในการประเมินผลการแสดง โดยช่วยกันสรุปข้อบกพร่องและข้อเสนอแนะ เพื่อนำมาใช้ในการแสดงครั้งต่อไป





             การจัดละครหุ่นจะมีองค์ประกอบเช่นเดียวกับละครเวที  คือ  มีบทละคร  ผู้กำกับ ผู้แสดง ผู้ชม ฉาก เวที  และการใช้เทคนิคต่างๆ ประกอบ เช่น แสง เสียง  นอกจากนั้นละครหุ่นยังมีตัวหุ่น  ผู้เชิด ผู้พากย์หุ่นเข้ามาด้วยการเตรียมงานละครหุ่นก่อนนำไปแสดงมีขั้นตอน  ดังนี้  (จาตุรงค์  อาจารีย์ ๒๕๒๒:๗-๑๓)
             1.การวางแผน  ได้แก่  การตั้งจุดประสงค์ของการแสดงว่าจะให้ผู้ชมได้รับอะไรบ้างหลังจากการแสดงแล้ว
             2.การทำความเข้าใจขอบเขตของหุ่น ได้แก่  การศึกษากลไกของหุ่นข้อจำกัดของหุ่นที่หุ่นทำได้หรือไม่ได้  เช่นหุ่นไม่สามารถแสดงออกทางใบหน้าเพื่อแสดงอารมณ์ดีใจ  เสียใจ  โกรธ  กลัว  ได้ แต่หุ่นสามารถทำได้โดยอาศัยน้ำเสียงท่าทางและการเคลื่อนไหวและการใช้พากย์ช่วย
              3.  การเตรียมเรื่อง  การเตรียมเรื่องเพื่อให้สนองความต้องการของเด็กแต่ละวันได้อย่างเหมาะสม  กล่าวคือเด็กวัยอนุบาลศึกษา(อายุ ๔-๖ปี)  สนใจเรื่องเกี่ยวกับชีวิต  สภาพสิ่งแวดล้อมธรรมชาติของคน  สัตว์  ต้นไม้ เด็กวัย๗-๘  ปี สนใจเรื่องราวของเด็กในวัยเดียวกัน สิ่งแวดล้อมรอบๆตัวเด็ก  ความยุติธรรม  ความมีระเบียบเด็กอายุ๙-๑๐  ปีขึ้นไป  สนใจเกี่ยวกับชีวิตจริงมากขึ้น เช่นเรื่องชีวประวัติ การผจญภัย ประวัติศาสตร์เป็นต้น
             ๔.การเตรียมบทละคร
            ๕.การซ้อมและการแสดง
 การแสดงละครหุ่น



เทคนิคในการแสดงละครหุ่น

                                                                                                                                                                                                                 6
การฝึกเชิดหุ่น
              การจะเป็นผู้แสดงละครหุ่นที่ดี จำเป็นต้องฝึกฝนตนเองหรือหาโอกาสแสดงอยู่เสมอ  การฝึกแสดงหุ่นอย่างง่ายๆ คือ การฝึกแสดงสด  หรือแสดงต่างทันทีทันใดในสถานการณ์หนึ่ง  โดยไม่มีบทละครแน่นอนตายตัวในกระบวนการ  ดังนี้   (Verr on Howard ๑๙๖๓:๑๘-๓๑)              1.เลือกสถานการณ์ตัวอย่างที่กำหนดให้ต่อไปนี้เพื่อนำไปซ้อมการแสดงละครหุ่น  โดยเลือกจากสถานการณ์1ที่ชอบ             2.เรียนรู้บุคลิกของหุ่น  และรวมฝึกซ้อมกับคนอื่นๆ            3.ให้หุ่นพูดและแสดงออกตามบุคลิกภาพของตัวละครที่ควรจะเป็นและสถานการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นโดยการสร้างจินตนาการณ์ผูกเรื่องหาความสัมพันธ์กันระหว่างตัวละครกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในสถานการณ์นั้นๆการพากย์หุ่น              การฝึกฝนให้เชิดหุ่นได้ดี  ต้องฝึกสีลาของเสียงในการเชิดหุ่นด้วย  โดยก่อนอื่นต้องพิจารณาบุคลิก  หน้าตาของหุ่นด้วยโดยก่อนอื่นต้องพิจารณาบุคลิกภาพ  หน้าตาของหุ่นว่าควรจะมีน้ำเสียงอย่างไร  เช่น  แม่มดเสียงแหลมเล็ก   สุนัขเห่าคำราม เป็นต้น  โดยให้เสียงหุ่นแต่ละตัวแตกต่างกัน  หลังจากนั้นจึงฝึกน้ำเสียงของหุ่นตามอารมณ์ต่างๆ เช่น  ดีใจ  เสียใจ  โกรธ กลัว เกลียด อิจฉา  รัก  ซึ่งน้ำเสียงของหุ่นไม่สามารถตีสีหน้า  ได้ ภาษาที่ใช้ควรจะเหมาะสมกับระดับผู้ฟังด้วยถ้าผู้ฟังเป็นเด็กเล็กภาษาต้องง่ายๆ ไม่มีศัพท์ซับซ้อนมาก  เมื่ออยู่บนเวทีถ้าหุ่นตัวใด ตัวหนึ่งกำลังพูดอยู่ให้หุ่นตัวอื่นๆ หยุดพูด  และอาจหันหน้าไปหาหุ่นตัวที่พูดเพื่อให้หุ่นตัวนั้นเด่น  ข้อสำคัญอย่าแย่งกันพูด  การเคลื่อนไหวและท่าทางของหุ่นให้มีความสัมพันธ์กับการพากษ์  เช่น  ดีใจ หัวเราะ  หน้าหุ่นจะเชิดสั่นระรัว   ถ้าเสียใจเศร้าสร้อยผิดหวังหน้าหุ่นจะก้มต่ำลงนิดๆ ถ้าหุ่นตกใจ  หุ่นจะหันรึหันขวาง  หุ่นต้องเต้นไปตามจังหวะลีลาของเพลง


                                                                                                                                                                                                                       7
บทที่ 3
วิธีการดำเนินงานโครงการ
3.1วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ หรือโปรแกรมที่ใช้ในการพัฒนา
         1. ค่าวัสดุในการทำโรงหุ่น
              -กระดาษลัง
         2. ค่าวัสดุในการทำหุ่นละคร
             - ตาตุ๊กตา 20 บาท
             - ด้ายเย็บผ้า 12 บาท
             - กระดาษแบบต่างๆ 60 บาท
          3. ค่าวัสดุอื่น 100 บาท
           (หมายเหตุ ขออนุมัติถัวจ่ายทุกรายการ)
3.2 ขั้นตอนการดำเนินโครงการ
          1. วางแผนและกำหนดหัวข้อการจัดทำโครงการ
          2. นำเสนอโครงการต่อผู้บริหารของโรงเรียน
          3. ประชุมร่วมกับครูประจำชั้นและผู้บริหารในการดำเนินโครงการ
          4. ดำเนินการสร้างโรงหุ่นและผลิตหุ่นประเภทต่างๆ ตามขั้นตอนดังนี้
                 4.1 ขั้นตอนการจัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์
                 4.2 ขั้นการดำเนินการสร้างโรงหุ่นและหุ่นประเภทต่างๆ
                 4.3 เก็บภาพถ่าย ขณะดำเนินงาน





                                                                                                                                                                                                                 8
บทที่ 4
ผลการดำเนินงาน
4.1 ผลการดำเนินงาน
             เด็กเกิดการเรียนรู้ และได้นำประสบการณ์ที่หลากหลายจากการเล่นเชิดหุ่นละครเด็กมีความกล้าแสดงออกและเชื่อมั่นในตนเอง. เด็กได้แสดงออกทางความคิด และนำไปถ่ายทอดความรู้สึกของตนผ่านหุ่นละคร
4.2 การนำไปใช้
              เป็นการนำมาใช้ในการแสดงหุ่นเองยังช่วยให้เชิดเป็นคนกล้าแสดงออกด้วยเหตุนี้ เพราะตัวผู้เชิดหรือผู้แสดงจะซ่อนตัวอยู่หลังม่าน  ด้วยเหตุนี้หุ่นจึงมีประโยชน์ต่องานด้านการศึกษาในการนำมาพัฒนาตัวเด็กให้กล้าแสดงสนใจบทเรียน  และเรียนรู้จากการแสดงหุ่น  ด้วยความสนุกสนานเด็กเกิดการเรียนรู้ และได้รับประสบการณ์ที่หลากหลายจากการเล่นเชิดหุ่นละคร











                                                                                                                                                                                                                 9
บทที่ 5
สรุป อภิปรายและข้อเสนอแนะ
5.1 สรุปผลการดำเนินงานโครงงาน
             ในการจัดโครงการพัฒนาผู้เรียนและสถานศึกษาครั้งนี้ ได้รับการสนับสนุนจากทางโรงเรียนเป็นอย่างดี จากการจัดตั้งโรงหุ่นและหุ่นละครไว้ในห้องอนุบาล 1/1 และทำการสังเกตเด็กที่เข้าไปเล่นเชิดหุ่นนั้น พบว่า เด็กมีความสุข สนุกสนาน และได้เล่นหรือแสดงออกตามจินตนาการ ตลอดจนได้เล่าเรื่องและเล่นหุ่นตามความคิดของตน มีบางครั้งที่เด็กเข้าไปนั่งเล่นข้างในโรงหุ่นแต่ไม่ได้เล่นเชิดหุ่นตามวัตถุประสงค์ของโครงการ ซึ่งเป็นเพราะว่า การเล่นหุ่นละครประกอบโรงหุ่นนั้นเป็นประสบการณ์ที่ใหม่สำหรับเด็ก เด็กยังไม่รู้จักวิธีการเล่น ดังนั้นก่อนที่จะเล่นต้องสร้างข้อตกลงและอธิบายวิธีการทำกิจกรรมกับเด็กก่อน ตลอดจนครูจะต้องคอยแนะนำขณะที่เด็กเล่นด้วย เพื่อกระตุ้นความคิดและจินตนาการของเด็ก
                ในการจัดทำโครงการนี้จะช่วยเสริมสร้างความกล้าแสดงออก ความมั่นใจในตัวเอง ตลอดจนจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยได้เป็นอย่างดี ในการทำหุ่นละครต่างๆ จะต้องใช้เวลาในการทำ เนื่องจากเป็นงานที่ประณีต และโรงหุ่นที่ใช้ไม่จำเป็นต้องสร้างขึ้นใหม่ สามารถประยุกต์จากสิ่งต่างๆ ที่มีอยู่ได้ เช่น โต๊ะ ช่องประตู เป็นต้น ซึ่งหาง่าย ไม่สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย และประหยัดเวลาในการจัดทำ
5.2 ปัญหาและอุปสรรค
              1.ไม่มีเครื่องมือในการทำโรงหุ่น วัสดุ อุปกรณ์หายาก ลำบากในการขนส่ง
              2. การทำหุ่นต่างๆ ในระยะเวลาที่จำกัด ทำให้หุ่นบางประเภทไม่สวยงามเท่าที่ควร เนื่องจากไม่มีเวลาในการตกแต่ง
              3. ช่องสำหรับแสดงหุ่นของโรงหุ่นมีขนาดเล็ก ทำให้เด็กเข้าไปเล่นได้จำนวนน้อย
5.3 ข้อเสนอแนะและแนวทางในการพัฒนา
              ควรจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ในการทำกิจกรรมให้พร้อมเพียงพอต่อการจัดกิจกรรม



                                                                                                                                                                                                             10
บรรณานุกรม

              สืบค้นเมื่อวันที่ 29 เดือนตุลาคม พ..2557.   โครงงานหุ่นละคร(ออนไลน์)เข้าถึงได้จาก
                           
http://wilailakr.blogspot.com/2008/10/puppet.html.
              สืบค้นเมื่อวันที่ 29 เดือนตุลาคม พ..2557.  หุ่นละครสำหรับเด็กปฐมวัยเข้าถึงได้จาก
                              http://www.oknation.net/blog/print.php?id=834822 .















                                                                                                                                                                                                               11
 

ภาคผนวก







                                                                                                                                                                                                                                                                                                        12



                                                                                                                                                                                                               



                                                                                                                                                                                                               13
                                                                        ประวัติผู้จัดทำ
ชื่อ  นางสาวศิรัญญา นามสกุล เสาศิริ
อายุ 22 ปี ที่อยู่ 44 หมู่1 .สายตะกู อ.บ้านกรวด จ.บุรีรัมย์ 31180
เบอร์โทรศัพท์0903604143
ชื่อ  นางสาวอรวรรณ นามสกุล   แรงจบ
อายุ22   ปี ที่อยู่  21/1 หมู่6.หนองใหญ่ อ.ปราสาท จ.สุรินทร์ 32140
เบอร์โทรศัพท์0935021277
ชื่อ นางสาวยุพิน  นามสกุลไชยยะ
อายุ22 ปี ที่อยู่ 163 หมู่ 13 ต.บ้านปรือ อ.กระสัง จ.บุรีรัมย์ 31160
เบอร์โทรศัพท์ 0837474041
ชื่อ นางสาวศุภกานต์ นามสกุล เจริญยิ่ง
อายุ 22 ปี ที่อยู่ 39 หมู่ 12 .จอมพระ อ.จอมพระ จ.สุรินทร์ 32180
เบอร์โทรศัพท์ 0856572304